วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่16

 20 กุมภาพันธ์2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
                                                                     08.30-12.20 น.


คณิตศาสตร์มี 6 สาระ

สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  
            - เข้าใจถึงความหลากหลายและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน         

สาระที่ 2  การวัด
            - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา

สาระที่ 3 เรขาคณิต
             - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
             - รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 พีชคณิต
               - เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
               - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


กลุ่มเพื่อนสอบสอน
1. หน่วยไข่กับการทำอาหาร
2. หน่วยไข่จ๋า
3. หน่วยน้ำ



สัปดาห์ที่15

 13กุมภาพันธ์2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.


กลุ่มเพื่อนสอบสอน เรื่องสัตว์น่ารัก 

สมาชิกกลุ่มคือ น.ส. วรรณพร จินดาพรหม   น.ส. ชฏารัตน์ ยาเขียว   น.ส. ณัฐพร ดอนโสม

อาจารย์ยกตัวอย่าง รูปแบบการสอนเด็ก



สัปดาห์ที่14

 6กุมภาพันธ์ 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
                                                                       08.30-12.20 น

เนื้อหาที่เรียน

หน่วยการเรียน

  1. คณิตศาสตร์
  2. วิทยาศาสตร์
  3. ภาษา                                       = ด้านร่างกาย
  4. ความคิดสร้างสรรค์    = ด้านอารมณ์
  5. สังคม                                       = ด้านสังคม                                                 = คิดสร้างสรรค์  =  ศิลปะ
  6. คุณธรรม                                = ด้านสติปัญญา   = ความคิด  = เหตุผล    = วิทยาศาสตร์
  7. จริยธรรม                                                                                 = ภาษา                                       = คณิตศาสตร์
  8. กาย
เพื่อนๆสอบสอน


สัปดาห์ที่13

30 มกราคม2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.

การระดมความคิดของปฐมวัย

   - นิทานเวที
  - นิทรรศการสื่อ
  - เล่นดนตรี
  - ร้องเพลง
  - เล่านิทาน
  - เล่นเกม
  - รำ
  - งานศิลปะ
  - เต้น


1. การสอนเด็กต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก
2. ประสบการณ์  คือ ต้องลงมือกระทำ เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้
3. การนับหรือการเรียง  ต้องเรียงจากซ้ายไปขวา เพื่อที่จะให้เด็กมีประสบการณ์เป็นพื้นฐานในการจำ
4. การวางตัวเลขจะวางไว้หน้าคำหรือหลังคำก็ได้แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับคำนั้นๆ

5. การแยก     เป็นพื้นฐานของการลบ
6. การรวม     เป็นพื้นฐานของการบวก
7. ภาษา/คณิตศาสตร์    เป็นเครื่องมือที่พัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์
8. ถ้าเด็กยังไม่มีการลงมือกระทำ  แสดงว่า จะเป็นแค่เพียงการรับรู้เท่านั้น


      ร้องเพลง
      เล่านิทาน     =    3  อย่านี้สามารถใช้ร่วมกันในการเล่านิทานได้
      เต้น

โอกาสที่เด็กจะทำได้มีสูงเพราะเด็กสามารถทำเป็นประจำได้ การลงมือกระทำจะประสบความสำเร็จดีมาก  

9. เครื่องมือที่การวัดที่เป็นทางการ  ไม่ควรนำม่ใช้กับเด็ก  เช่น  ไม้บรรทัด
10. ควรใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ  เช่น  คืบ  ฝ่ามือ     
        - สาระที่ 2 การวัด  มาตรฐาน  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดและความยาว
        - สาระที่ 3 เลขาคณิต   มาตรฐาน  รู้จักตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปทรง 
        - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น   มาตรฐาน  การนำเสนอข้อมูล / การรวบรวมข้อมูล
สิ่่งที่เด็กต้องรู้
  สิ่งของบางอย่างต่างกัน  สิ่งของบางอย่างเหมือนกัน เด็กจึงต้องดูและแยกแยะให้ได้ว่าต่างและเหมือนกันอย่างไร

สัปดาห์ที่12

23มกราคม2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.






อาจารย์ให้ทำมายแม็บ  เพื่อสาระการเรียนรู้ 
 โดยทำหน่วยเรื่อง ครอบครัว



วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่11

 16มกราคม2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.


วันครู 

 


     มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
     ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญ คุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
     “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมี บุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
     จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่ แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็น ควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู กับประชาชน
     ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดย เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้ 

สัปดาห์ที่10

9 มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.






เนื้อหา/สาระ

จำนวน  =  วันนี้นักเรียนมากี่คน /ได้เงินมากี่บาท/จำนวนอาคารในโรงเรียน/ราคาข้าวในโรงอาหาร
- การแทนด้วยตัวเลข = เขียน/นำสัญลักษณ์มาวาง

**การสร้างสื่อการสอน   อย่าสร้างให้ยึดติดกับผนัง  ต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้