วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่6

 12 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.


          อาจารย์ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์เป็นคู่ ใช้สื่ออะไรก็ได้
คู่ดิฉันคือ น.ส. กรรจิรา สึกขุนทด ซึ่งได้เขียนขอบข่ายเรื่อง อุปกรณ์เครื่องเขียน คือ
  1. การนับ   =    นำอุปกรณ์มารวมกัน แล้วให้เด็กนับ 1-10 หรือมากกว่านั้น
  2. ตัวเลข   =  ให้เด็กบอกจำนวนที่นับได้แก่ครู แล้วให้ครูเขียนสัญลักษณ์แทนค่า
  3. การจับคู่   =  ให้เด็กจับคู่อุปกรณ์ที่เป็นประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท    =   ให้เด็กจัดอุปกรณ์ที่มีสีเดียวกัน
  5. การเปรียบเทียบ  =   ให้เด็กเปรียบเทียบปากกากับดินสอ ว่าอันไหนสั้นอันไหนยาว
  6. การจัดลำดับ       =   ให้เด็กแบ่งอุปกรณืเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งมี สมุด ปากกาแดง ปากกาน้ำเงิน ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด อย่างละ 1 ชิ้น
  7. รูปทรงและเนื้อที่  =   ให้เด็กหยิบของมา 8 ชิ้น แล้วให้เด็กสร้างเป็นอะไรก็ได้ตามจินตนาการของเด็ก
  8. การวัด   =     ให้เด็กลงมือวัดดินสอ 2 แท่ง ว่าแท่งไหนยาว แท่งไหนสั้น
  9. เซต       =      ครูถามเด็กว่าอุปกรณ์ทั้งหมดเป็นเซตอะไร
  10. เศษส่วน   =   ให้เด็กแบ่งอุปกรณ์ทั้งหมด ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ชิ้น
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย     =    ครูนำอุปกรณ์มา 4 ชิ้นแล้วให้เด็กดู แล้วเอาอุปกรณ์ออก 1 ชิ้น จึงถามเด็กว่าอะไรหายไป
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ =  ครูถามเด็กว่าไม้บรรทัดกับกบเหลาดินสอมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่

         - อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์ แล้วถามทีละกลุ่ม สุ่มหัวข้อถาม

         - อาจารย์ให้หยิบกล่องคนละ 1 กล่อง แล้วจับคู่ช่วยกันคิดว่ากล่องสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง



     - แล้วให้จับกลุ่ม 5 กลุ่ม 10 คน เอากล่องแต่ละคนมาประกอบเป็นรูปร่าง



     - นี่รูปของเพื่อนทั้ง 5 กลุ่ม





     - แล้วจึงนำของเพื่อนทั้ง 5 กลุ่ม มาทำเป็นนิทรรศการ มีบ้านของหุ่นยนต์ 3 หลัง มีบ้านช้าง 1 หลัง มีสถานีรถไฟ รถไฟ และมีประตู 2 ประตู ทางเข้า-ออก


     - อาจารย์สั่ง การบ้าน คือ ให้ตัดกระดาษจากกระดาษกล่องเป็นวงกลม ที่มีจุดผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว    1.5 นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี มีสีเหลือง สีเขียวเข้มและสีชมพู รวมเป็น 9 ชิ้น 



สัปดาห์ที่5

 5ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.


วันพ่อแห่งชาติ





 ความเป็นมาของ วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม


ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ดอกพุทธรักษาดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์ 


วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน


กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาติ
1. ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์หรือทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลและระลึกถึงพระคุณพ่อ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมยกย่องผู้ที่ สมควร ได้รับการยกย่องว่าเป็นพ่อ ตัวอย่าง

หน้าที่ของบิดา มารดาพึงมีต่อบุตร
  • ห้ามมิให้ทำความชั่ว – ป้องกัน, ห้ามปราม มิให้ประพฤติเสียหาย
  • ให้ตั้งอยู่ในความดี – ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง
  • ให้ศึกษาศิลปวิทยา – ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งคดีโลก และคดีธรรม
  • หาคู่ครองที่สมควรให้ – เลือกคู่ครองที่คู่ควร, เหมาะสมให้ในเวลาอันเหมาะสม
  • มอบทรัพย์สมบัติให้ดูแลเมื่อถึงเวลาอันสมควร – มอบภาระหน้าที่การงานให้บริหาร และมอบมรดกให้ครอบครอง
หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา
  • เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน – เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
  • ช่วยทำกิจการงานของท่าน – ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
  • ดำรงวงศ์ตระกูล – ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
  • ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก – ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
  • ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ – ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พังทลาย
วันที่ 5 ธันวาคม นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น วันชาติของไทย อีกด้วย

สัปดาห์ที่4

28 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.

   วันนี้อาจารย์เข้า 9.30น เพราะได้เป็นประธานเปิดงานที่สาธิต
อาจราย์ได้พูดเรื่องคณิตศาสตร์ถึง รูปร่าง รูปทรง ปริมาณ ตัวเลข การจำแนก จำนวนและเลขาคณิต
ขอบข่ายการเรียนคณิตศาสตร์ในส่วนของปฐมวัย
(นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
  1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น นับ 1-10 หรือมากกว่านั้น การนับเพื่ออยากรู้จะนวน
  2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวันให้เด็กได้เล่น ของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนหรืออาจเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนค่าจำนวนลำดับ
  3. การจับคู่ (Matching) ให้เด็กฝึกฝนลักษณะต่างๆ แล้วจับคู่เข้ากันเหมือนอยู่ประเภทเดียวกัน จับคู่จำนวนเท่ากัน จับคู่ภาพเหมือนตัวเล
  4. การจัดประเภท (Classification) จัดเป็นหมวดหมู่และต้องกำหนดเกณฑ์
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เพื่อให้เด็กรู้ค่า เช่น สั้น-ยาว หนัก-เบา กว้าง-แคบ
  6. การจัดลำดับ (Ordering) ให้เด็กจัดสิ่งของเป็นชุดๆตามคำสั่ง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shage and Space) มีปริมาณ เนื้อที่และมิติ
  8. การวัด (Measurement) ให้เด็กได้ลงมือวัด ซึ่งการวัดให้ได้ค่าได้จำนวน
  9. เซต (Set) เช่น ให้รู้จักชุดเครื่องครัว ชุดแตงตัว มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
  10. เศษส่วน (Fraction) การแบ่งครึ่ง ต้องนับและดึงออกทีละชิ้น
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) รูปทรง ตัวเลข เส้น ฝึกให้เด็กฝึกฝนตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservating) ให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง เด็กตอบตามที่ตาเห็นและตอบโดยไม่มีเหตุผล ยังเอาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้

(เยาวพา เดชะคุปต์.2542:87-88)

          สอนคณิตศาสตร์แนวใหม่เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็ก
  1. การจัดกลุ่มหรือเซต คือ การจับคู่ 1:1
  2. จำนวน คือ 1-10 หรือจำนวนคู่ คี่
  3. ระบบจำนวน คือ ชื่อของตัวเลข
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซต เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จาการรวมกลุ่ม  คือ การรวมกลุ่มและการแยก
  6. ลำดับที่ แสดงถึงจำนวน ปริมาณ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
  7. การวัด วัดของเหลว เงินตรา อุณหภูมิ
  8. รูปทรงเลขาคณิต คือให้เด็กเปรีบยเทียบรูปร่าง ขนาดและระยะทาง
  9. สถิติและกราฟ เป็นตัวหนึ่งในการนำเสนอทำแผนภูมิ

สัปดาห์ที่3

21พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.

แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วช่วยกันสรุปงานจากการที่ไปหาเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือ ความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์
   สมาชิกกลุ่ม  
  1. น.ส. บงกช              รัศมีธนาวงศ์
  2. น.ส. เบญจวรรณ   นนท์ตะพันธ์
  3. น.ส. สุกัญญา         คะนาโจทย์

1. ความหมายของคณิตศาสตร์
         
          คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนามธรรมโดยทั่วไป ซึ่งมีโครงสร้างที่แน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันและมิได้หมายถึงเพียงตัวเลขเท่านั้นแต่ยังมีความหมายที่กว้างขวางดังต่อไปนี้
      1) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีภาษาเฉพาะตัวของมันที่กำหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุม เป็นภาษาที่มีตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ แทนความคิด
     2) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผล
อ้างอิงจาก   ยุพิน พิพิธกุล.การเรียนการสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:บพิธการพิมพ์.2524

2. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
           
          มีลำดับขั้นของการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ คือ 
     1)ขั้นเตรียมความพร้อม  เป็นการสำรองความพร้อมของผู้เรียนว่ามีพื้นฐานมากน้อยเพียงใด
     2)ขั้นการทำความเข้าใจ เป็นขั้นนำผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่งที่ต้องการสอน
     3)ขั้นเปรียบเทียบความแตกต่าง ผู้สอนชี้ให้เห็นความหมาย ความแตกต่างระหว่างแนวคิดไดเพียงใดก็จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
     4)ขั้นฝึกทักษะ
     5)ขั้นทบทวนความรู้
     6)ขั้นนำไปใช้
อ้างอิงจาก สุรชัย  ขวัญเมือง.วิธีการสอนและการวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา:  
                                    เทพนิมิตรการพิมพ์.2522

3. ขอบข่าย/เนื้อหาคณิตศาสตร์

          การจัดโครงการเนื้อหาของคณิตศาสตร์แต่ละเนื้อหาจะจัดให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ละเนื้อหาเป็นเรื่องที่จะต้องใช้หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในการจัดเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นต้งจัดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย
อ้างอิงจาก เรวัตร พรหมเพ็ญ.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับประถมศึกษา.   
                                  ภาคหลักสูตรการสอน.คณะวิชาครุศาสตร์สถาบันราชภัฎจันทรเกษม:2537

4. แนวการสอน

          1) สอนโดยการให้อธิบายและเหตุผล
          2) สอนแบบสาธิต
          3) สอนโดยการถาม-ตอบ
อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 2
                                  (คณิตศาสตร์): 2537


   


สัปดาห์ที่2

14 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.

ข้อความรู้

-ตัวเลขเป็นตัวแทนค่าทางคณิตศาสตร์
-เด็กเรียนรู้เลขฐาน10 คือเมื่อครบ10แล้วขึ้นหลักใหม่
-สอนโดยบูรณาการกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยนับเลขจากซ้ายไปขวา
-สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์คือสัญลักณ์ทางภาษา
-การให้เด็กได้ทำซ้ำๆบ่อยๆ เส้นใยประสาทจะแข็งแรง
-การนับเป็นการเรียงลำดับ
-การเรียงลำดับมี เพิ่มขึ้น ลดลง

กิจกรรมและงาน
หาหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์คนละ5เล่ม
หาความหมายคณิตศาสตร์/ทฤษฎีการสอน การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์/ขอบข่ายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์/หลักในการสอนคณิตศาสตร์

สัปดาห์ที่1

7 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
08.30-12.20 น.

ปฐมนิเทศน์การเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-การแต่งกาย
-การเรียนการสอน
-กิจกรรมในห้องเรียน
-การตรวจงาน
-ความใส่ใจในการเรียน
-หาความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อที่สำคัญ

ข้อความรู้จากการเรียน
๑.การจัดกิจกรรม6กิจกรรมหลักได้แก่
     (๑.)กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     (๒.)กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
     (๓.)กิจกรรมเล่นเสรี
     (๔.)กิจกรรมเสริมประสบการณ์
     (๕.)กิจกรรมกลางแจ้ง
     (๖.)กิจกรรมเกมการศึกษา
กิจกรรมหลักทั้ง๖กิจกรรมคือร่มใหญ่ที่จะครอบคลุมรายวิชาย่อยในหลักสูตรการเรียนการสอนการศึกษาปฐมวัยได้แก่้
     (๑.)วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     (๒.)วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     (๓.)วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     (๔.)วิชาการจัดประสบการณ์การเล่นกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัย
     (๕.)วิชาการจัดประสบการณ์พัฒนาอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย
     (๖.)วิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

*การซึมซับ-การเชื่อมโยง-การปรับเป็นความรู้ใหม่-การแสดงออก-รูปธรรม-3มิติ-2มิติ-1มิติ-นามธรรม
*ไม่ให้ใช้คำว่าการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย  ให้ใช้คำว่าการจัดประสบการณ์
*การจัดประสบการณ์ คือการคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องไปถึงจุดมุ่งหมายด้วยวิธีเดียวกัน
*การสอนเป็นไปตามขั้นตอนมีกระบวนการที่ชัดเจนตามจุดประสงค์ด้วยวิธีเดียวกัน

กิจกรรมในห้องเรียน

๑.เขียนประโยคคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
๒.คาดหวังว่าจะได้เรียนรู้อะไรบ้างในรายวิชา